หลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
(Bachelor of Science Program in Animal Science)

1.   ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์

(Bachelor of Science Program in Animal Science)

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

2.    ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย          วิทยาศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ      Bachelor of Science (Animal Science)

ชื่อย่อภาษาไทย           วท.บ. (สัตวศาสตร์)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ       B.Sc. (Animal Science)

3.    ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านสัตวศาสตร์ที่มีความพร้อมในการทำงาน บูรณาการความรู้ นวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางสัตวศาสตร์ มีความสามารถเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

4.    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. จัดการการเลี้ยงปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม การให้อาหารสัตว์ การเพาะขยายพันธุ์ การคำนวณสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตได้

2. วางแผนการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ การจัดการผลิตผลจากสัตว์ อาหารปลอดภัย และเลือกวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม

3. ประยุกต์หลักการตลาดกับการผลิตปศุสัตว์เพื่อเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ แก้ปัญหาทางด้านการผลิตปศุสัตว์โดยบูรณาการความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือ นวัตกรรมได้

4. ใช้วิธีการสื่อสารวิชาการทางด้านสัตวศาสตร์ควบคู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีภาวะผู้นำ ผู้ตาม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น และเป็นผู้มีจริยธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

5.    เกณฑ์การรับเข้า

ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า

6.    ระยะเวลาการจัดการศึกษา

4 ปี

7.    โครงสร้างหลักสูตรและข้อกำหนด

จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 144  หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
(1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
(2)  หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 108 หน่วยกิต
(2.1)  วิชาแกน จำนวน 13 หน่วยกิต
(2.2)  วิชาบังคับ จำนวน 68 หน่วยกิต
(2.3)  วิชาบังคับเลือกตามแผน จำนวนไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต
 

แผนที่ 1 สหกิจศึกษา (Co-operative Education)

กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต
710 491 สหกิจศึกษา 1 9(0-27-0)
710 492  สหกิจศึกษา 2 9(0-27-0)
กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
 

แผนที่ 2 จุลนิพนธ์ (Senior Project)

กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
710 487 จุลนิพนธ์ 3(0-9-0)
710 491 สหกิจศึกษา 1 9(0-27-0)
กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
 

แผนที่ 3 การเรียนรู้ในสถานประกอบการ (Work Integrated Learning)

กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
710 359 การเรียนรู้ในสถานประกอบการ 1 6(0-18-0)
710 493 การเรียนรู้ในสถานประกอบการ 2 6(0-18-0)
กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพเลือกในสถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า  6 หน่วยกิต
710 359 การจัดการผลิตสุกรเชิงอุตสาหกรรม 3(2-3-4)
710 389 วัตถุดิบอาหารสัตว์และเทคโนโลยีวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3(2-3-4)
710 458 โรคและการสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร 3(2-3-4)
710 488 ระบบคุณภาพในโรงงานอาหารสัตว์ 3(2-3-4)
 

(3.) หมวดวิชาเลือกเสรี

 

จำนวนไม่น้อยกว่า

 

6 หน่วยกิต

 

8.    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสัตวบาล/สัตวศาสตร์ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับทางปศุสัตว์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

8.2 นักวิชาการเกษตร นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน

8.3 นักสัตวบาลประจำฟาร์ม สัตวบาลส่งเสริม สัตวบาลฟาร์มทดลอง และสัตวบาลโรงฟัก

8.4 นักวิชาการอาหารสัตว์ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) และ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC) ประจำโรงงานอาหารสัตว์

8.5 นักวิชาการส่งเสริมการขาย

8.6 เจ้าหน้าที่โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพของสินค้าทางด้านปศุสัตว์

8.7 เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ

8.8 เจ้าของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์และการประกอบธุรกิจส่วนตัว

9.    สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120

10.   วันที่ปรับปรุง

1 ธ.ค. 2563

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
(Master of Science Program in Animal Science)

1.   ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสัตวศาสตร์

(Master of Science Program in Animal Science)

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

2.    ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย          วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ      Master of Science (Animal Science)

ชื่อย่อภาษาไทย           วท.ม. (สัตวศาสตร์)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ       M.Sc. (Animal Science)

3.    ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านสัตวศาสตร์ สามารถประยุกต์ บูรณาการความรู้และนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน อุตสาหกรรม และชุมชน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

4.    ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1) อธิบายหลักการดูแลสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย ตลอดจนหลักสวัสดิภาพและจรรยาบรรณในการเลี้ยงและดูแลสัตว์เศรษฐกิจได้

2) ประยุกต์ใช้หลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ และหลักการจัดการฟาร์มปศุสัตว์สมัยใหม่ได้

3) เลือกใช้หลักการวิจัยและเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำวิจัยทางด้านสัตว์ศาสตร์ได้

4) ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเชิงวิชาการและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามได้

5. เกณฑ์การรับเข้า

ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ สัตวบาล เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

1) แผน ก แบบ ก 1 มีเงื่อนไขดังนี้

(1) มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ

(2) มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี ในสายงานที่เกี่ยวข้อง หรือ

(3) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหลักสูตร

2) แผน ก แบบ ก 2 มีเงื่อนไขดังนี้

(1) มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ

(2) มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมวิชาในสาขาสัตวศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.5 หรือ

(3) มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ในสายงานที่เกี่ยวข้อง หรือ

(4) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหลักสูตร

6. ระยะเวลาการจัดการศึกษา

2 ปี

7. โครงสร้างหลักสูตรและข้อกำหนด

1)  จำนวนหน่วยกิต   รวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 มีค่าเทียบเท่า  36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า  36 หน่วยกิต
2)  โครงสร้างหลักสูตร
2.1) แผน ก แบบ ก 1
(1) วิทยานิพนธ์  (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 5 หน่วยกิต
710 503 ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัตวศาสตร์ 3(3-0-6)
710 506 สัมมนา 1 1(1-0-2)
710 507 สัมมนา 2 1(1-0-2)
2.2) แผน ก แบบ ก 2
(1) หมวดวิชาบังคับ  18 หน่วยกิต
710 501 การผลิตสัตว์ ปศุสัตว์อินทรีย์และการจัดการฟาร์ม 3(3-0-6)
710 502 เซลล์และชีววิทยาการเจริญ 3(3-0-6)
710 503 ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัตวศาสตร์ 3(3-0-6)
710 504 การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ขั้นสูง 3(2-3-4)
710 505 การผลิตอาหารสัตว์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ 3(2-3-4)
710 506 สัมมนา 1 1(1-0-2)
710 507 สัมมนา 2 1(0-2-1)
710 508 ปัญหาพิเศษ 1(1-0-2)
(2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
(3) วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 12 หน่วยกิต
(4) สอบประมวลความรู้

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1)  เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในสถาบันการศึกษา

2)  หน่วยงานของภาครัฐ เช่น กรมปศุสัตว์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

3)  หน่วยงานเอกชน เช่น สัตวบาลประจำฟาร์ม นักวิชาการอาหารสัตว์ ฝ่ายส่งเสริมการขาย ฝ่ายขึ้นทะเบียนยา และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ควบคุมคุณภาพของสินค้าทางด้านปศุสัตว์

4) ประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์

 

9. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120

10. วันที่ปรับปรุง

10/12/2563